12/26/2560

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮม แคร์ สาขาแบริ่ง 17


          ห้างหุ้นส่วนแสนสิริ โฮม แคร์ จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท มีปัญหาด้านหารช่วยเหลือตนเอง โดยเน้นการดูแลเสมือนบ้าน บรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบ สะอาด ถูกหลักอนามัย โดยมีพยาบาลวิชาชีพดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งยังมีบุคลากรทางสุขภาพที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ อาทิเช่น นักกายภาพบำบัด นักโภชนากร เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุให้กลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุด
สาขาใหม่ บรรยากาศแบบบ้านเดี่ยว 380 ตรว.ร่มรื่น เงียบสงบ เดินทางสะดวก ทางด่วนบางนา-กาญจณา-พระราม 2
ใกล้ บีทีเอส แบริ่ง



รายละเอียดการบริการ
1.การดูแลและพยาบาลทั่วไป 24 ชั่วโมง
2.ที่พักปรับอากาศพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องทำน้ำอุ่น ทีวี
3.อาหารหลัก 3 มื้อ อาหารว่าง 2 มื้อตามที่ผู้สูงอายุต้องการหรือสามรถทานได้ (ไม่เป็นผลเสียกับโรคประจำตัว)
4.ออกกำลังกายและกายภาพบำบัดพื้นฐาน โดยนักกายภาพ 2 ครั้ง/สัปดาห์
5.มีเตียงลม,ครื่องดูดเสมหะ ไม่คิดค่าบริการ ค่าไฟ(เป็นของที่เตรียมไว้ประจำศูนย์)
6.ไม่คิดค่าบริการ เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะ สายให้อาหาร ค่าทำแผลกดทับ อัตราค่าบริการ เริ่มต้นที่ 15000/เดือน
(ผู้ป่วยให้อาหารทางสายให้อาหาร 18000/เดือน)
อัตราค่าบริการไม่รวมค่าเวชภัณ 2000บาท/เดือน#เลือกเป็นแบบเหมาจ่ายหรือคิดตามจริงได้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม 

11/15/2560

การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ(Insomnia)

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

สิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ คือ คุณภาพของชีวิต ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 อย่างด้วยกันคือ ความสุขสงบของจิตใจ สุขภาพที่ดี และ ปัญญาที่ทำให้ทราบว่าทำอย่างไร จึงทำให้เกิดความสุข สงบของจิตใจ และทำอย่างไรจึงจะมีสุขภาพที่ดี

            
          คุณภาพของชีวิตนั้น ไม่สามารถจะซื้อหาได้ด้วยเงิน ถึงแม้จะเป็นร้อยล้านพันล้านก็ตาม แต่ถ้ามีปัญญาแล้ว ก็สามารถจะแสวงหา คุณภาพของชีวิตได้อย่างเต็มที่
           สมอง คือ ที่ตั้งของปัญญา การจะมีปัญญา จะต้องมีสมองดีเสียก่อน สมองจะดีได้ จะต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถจะบรรยายได้หมดในที่นี้ แต่ขอยกเรื่องการนอนหลับมาบรรยายก่อน เพราะเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ทั่วไปว่า การนอนหลับที่ปกตินั้น มีความสำคัญต่อสุขภาพของร่างกาย สมอง และจิตใจเป็นอย่างมาก
                              


การนอนหลับที่ปกตินั้น หมายถึงการนอนหลับรวดเดียวตลอดทั้งคืน และเมื่อตื่นขึ้นจะแจ่มใส สดชื่น พร้อมที่จะดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างปกติ ระยะเวลาของการนอนหลับในหนึ่งคืนนั้น โดยเฉลี่ยประมาณ 6-9 ชั่วโมง ซึ่งจะแตกต่างไป แล้วแต่ตัวบุคคล บางคนนอนเพียง 6 ชั่วโมงก็เพียงพอ บางคนอาจจะต้องการ การนอนหลับถึง 9 ชั่วโมง นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ทำวิจัยเรื่องการนอนหลับเห็นพ้องต้องกันว่า ระยะเวลาของการนอนหลับนั้น ไม่สำคัญเท่ากับคุณภาพของการนอนหลับ ซึ่งโดยปกติจะประกอบขึ้นด้วย สองระยะที่สลับกันไปมาทั้งคืน คือ rem sleep และ non-rem sleep ถ้าหากระยะทั้งสองอย่างนี้ มีอัตราส่วนที่เหมาะสม ก็นับว่าเป็นการนอนหลับที่ปกติ
  Rem (เร็ม) นั้นย่อมาจาก rapid eye movement ซึ่งหมายถึง การกลอกตาทั้งสองข้างไปมา อย่างรวดเร็วในขณะนอนหลับ

  non-rem sleep นั้นคือ การนอนหลับในระยะที่ลูกตาสองข้าง ไม่กลอกไปมา ทั้งสองระยะนี้จะสลับกันไปมา คืนละหลายครั้ง เรายังไม่ทราบว่าหน้าที่ที่แท้จริงของ rem นั้น คืออะไร แต่พบว่ามันมีความสำคัญมากต่อสุขภาพของสมอง    
คนเราต้องการการนอนหลับทั้งสองชนิด ด้วยอัตราที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกาย และสมองได้พัก ได้จัดระบบใหม่ เตรียมพร้อมที่จะทำงานวันรุ่งขึ้นต่อไป
             การนอนไม่หลับนั้น อาจจะเกิดขึ้นเป็นบางครั้งบางคราวได้กับทุกคน แต่ถ้าเกิดนอนไม่หลับ หรือนอนไม่พอ เป็นระยะเวลานานแล้วไม่แก้ไข อาจจะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ได้ภายหลัง   ผู้ที่นอนไม่หลับ หรือหลับไม่ปกติที่เป็นเรื้อรังมานาน จะมีหน้าตาไม่แจ่มใส ดูแก่กว่าอายุจริง ไม่มีสมาธิต่อการปฏิบัติหน้าที่ หงุดหงิด สัมพันธภาพต่อคนทั่วไปไม่ดี ซึมเศร้า เบื่อชีวิต เบื่อการดำเนินชีวิต
ความเข้าใจดั้งเดิมที่ว่า ผู้สูงอายุต้องการการนอนหลับ น้อยกว่าที่เคยต้องการ เมื่ออายุน้อยกว่านั้น เป็นการเข้าใจที่ผิด ผู้สูงอายุต้องการการนอนหลับที่ปกติ ที่ยาวนานเหมือนคนอื่นๆ เหมือนกัน แต่ส่วนมากผู้สูงอายุ มักจะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ โดยเฉพาะหลับแล้วตื่นบ่อยๆ และบางทีตื่นแล้วไม่ง่วงอีก เลยทำให้เข้าใจผิดว่า ผู้สูงอายุไม่ต้องการการนอนหลับนาน การนอนหลับที่ผิดปกติ ที่สมควรได้รับการแก้ไข อย่าถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
ถ้าหากท่านนอนหลับไม่ปกติมาเรื้อรัง ควรจะลองปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการนอนหลับ ดังต่อไปนี้
1.
ควรฝึกนิสัยให้เข้านอนและตื่นเป็นเวลา การเข้านอนไม่เป็นเวลา อาจจะทำให้เกิดการนอนไม่หลับ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เพราะจะปรับตัวได้ไม่ดีเท่ากับวัยเด็ก หรือวัยหนุ่มสาว    
2.
พยายามอย่านอนหลับตอนกลางวัน หรือถ้าหากรู้สึกเพลีย และง่วง ก็ให้นอนหลับระยะสั้นสัก 10-20 นาที ก็จะทำให้สดชื่นขึ้น อย่านอนหลับกลางวันให้นานกว่านี้
3.
ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ การออกกำลังกายที่ดีที่สุดของผู้สูงอายุ คือการเดินเร็วๆ วันละ 20-30 นาที อย่าออกกำลัง 2-3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพราะอาจจะนอนไม่หลับได้
4.
งดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด ที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลมบางอย่าง ช็อกโกแลต เครื่องดื่มที่โฆษณาว่าเป็นการบำรุงเพิ่มกำลัง และมีคนนิยมดื่มมากนั้น มีทั้ง คาเฟอีน และแอลกอฮอล ก่อนจะดื่มสิ่งใด ควรศึกษาส่วนประกอบของเครื่องดื่มนั้นก่อน
5.
ควรงดดื่มสุรา เบียร์ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลทุกชนิด เพราะแอลกอฮอลอาจจะทำให้ง่วง และหลับได้ง่ายก็จริง แต่มักจะทำให้ตื่นกลางดึก แล้วนอนไม่หลับอีก
6.
งดสูบบุหรี่ เนื่องจากสารนิโคติน ที่ได้จากการสูบบุหรี่ อาจจะกระตุ้นสมอง ทำให้นอนไม่หลับ หรือนอนหลับยาก แล้วยังมีอันตรายต่อสุขภาพทางด้านอื่นๆ อย่างมากอีกด้วย
7.
อาหารมื้อสุดท้ายก่อนนอน ควรเป็นอาหารเบาที่ประกอบด้วยอาหารแป้ง ไม่ควรมีน้ำตาล นักวิทยาศาสตร์การแพทย์หลายท่าน แนะนำให้ดื่มนมร้อน และกินกล้วย เพราะทั้งสองอย่างมีสารชื่อ Tryptophan (ทริบโทแฟน) ที่จะช่วยให้นอนหลับได้ดี
8.
การอาบน้ำอุ่นก่อนนอน รวมทั้งการอ่านหนังสือ หรือการนั่งสมาธิประมาณ ครึ่งชั่วโมง ก่อนนอน ก็จะช่วยให้นอนหลับได้ดีเช่นกัน
9.
ยารักษาโรคบางอย่าง อาจจะทำให้นอนไม่หลับได้ ท่านควรจะถามแพทย์ผู้รักษาโรคนั้นๆ ว่ามียาที่อาจจะมีผลข้างเคียง ทำให้นอนไม่หลับหรือไม่
10.
ควบคุมความเครียดต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในวัยสูงอายุ หรือความเครียดที่สะสมมานาน การแสวงหาความสงบของจิตใจ เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการนอนหลับ
วิธีการปฏิบัติตัวทั้ง 10 ข้อนี้ สรุปรวบรวมมาจากการค้นคว้าวิจัยใหม่ล่าสุด เกี่ยวกับการนอนหลับ ถ้าหากท่านได้ลองปฏิบัติตัวดังกล่าวแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับเรื้อรัง ท่านควรจะปรึกษาแพทย์ อย่าปล่อยให้การนอนไม่หลับเรื้อรังไปนาน จะบั่นทอนสุขภาพทั้งร่างกาย และจิตใจ อย่าซื้อยานอนหลับมาใช้เอง เพราะยานอนหลับบางอย่าง อาจจะทำอันตรายต่อสมองได้
อีกประการหนึ่ง มีโรคบางอย่าง ที่รบกวนการนอนหลับโดยตรง เช่น การปวดจากข้ออักเสบ การปวดศีรษะกลางดึก จนการมีความดันในสมองเพิ่ม การลุกขึ้นมาถ่ายปัสสาวะบ่อย จากการเป็นต่อมลูกหมากโตในผู้ชาย หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง ถ้าหากท่านมีโรคเหล่านี้ ท่านควรจะรีบปรึกษาแพทย์ทันที
ผู้สูงอายุนั้นเปรียบเหมือนคอมพิวเตอร์ ที่ใช้มานาน แต่มีข้อมูลสะสมไว้มากมาย (Data Bank) ข้อมูลเหล่านี้หาค่ามิได้ เพราะได้สะสมจากประสบการณ์ของชีวิตที่ยาวนาน คอมพิวเตอร์ที่ซื้อมาใหม่ ถึงแม้จะทำงานรวดเร็วทันใจกว่า แต่ก็ขาดข้อมูลสะสมดังกล่าวมานี้ คุณค่าของผู้สูงอายุนี้ ควรจะนำมาเป็นประโยชน์ช่วยเหลือผู้ที่อ่อนวัยกว่า และยังขาดประสบการณ์ เพื่อที่เขาจะได้นำไปเป็นต้นตอ ที่จะปลูกเป็นต้นไม้ที่ใหญ่โตขึ้นอีก และไม่ต้องเริ่มเพาะเมล็ดใหม่ให้เสียเวลา นี่คือเหตุผลอย่างหนึ่ง ที่สมองของผู้สูงอายุ ควรจะได้รับการดูแลให้ดี จะได้ทำประโยชน์ต่อไปอย่างยาวนาน
แสนสิริ โฮม แคร์



6/09/2560

โรคในกลุ่มตุ่มน้ำพองที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ







โรคเพมฟิกัส (pemphigus) เป็นโรคตุ่มน้ำพองเรื้อรังที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ โดยมีการสร้างแอนติบอดีที่มาทำลายการยึดเกาะของเซลล์ผิวหนัง ผิวหนังจึงหลุดลอกออกจากกันโดยง่าย ทำให้เกิดอาการตุ่มน้ำพองที่ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ เป็นโรคที่พบไม่บ่อย มีรายงานอุบัติการณ์ 0.5 - 3.2 รายต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยที่เป็นโรคมักมีอายุเฉลี่ยที่ 50 - 60 ปี อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถพบได้ทุกวัย รวมถึงในเด็ก เพศชายและหญิงมีโอกาสเกิดโรคเท่ากัน
       
       อาการหลักที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์คือ ตุ่มน้ำพอง หรือแผลถลอกเรื้อรังที่บริเวณร่างกาย หรือเยื่อบุ โดยที่ 50 - 70% มีอาการแผลในปากเรื้อรังเป็นอาการแรก ซึ่งอาจนำมาก่อนอาการทางผิวหนังโดยเฉลี่ยประมาณ 5 เดือน โดยทั่วไปจะตรวจไม่พบตุ่มน้ำในช่องปาก มักพบเป็นแผลถลอกที่บริเวณเหงือก กระพุ้งแก้ม หรือเพดานปาก รอยถลอกอาจพบเป็นบางบริเวณหรือกระจายทั่วทั้งปาก ทำให้มีอาการเจ็บปวดมาก และอาจเกิดรอยโรคที่บริเวณกล่องเสียง ทำให้มีอาการเสียงแหบได้
       
       นอกจากนี้ อาจพบรอยโรคที่บริเวณเยื่อบุอื่นๆ เช่น หลอดอาหาร ทำให้กลืนเจ็บ เยื่อบุตา เยื่อบุทางเดินหายใจ เยื่อบุช่องคลอด อวัยวะเพศ ทางเดินปัสสาวะ และทางเดินอุจจาระได้ด้วย ส่วนอาการทางผิวหนังจะพบตุ่มน้ำพองเกิดขึ้นเองบนผิวหนังปกติ หรืออาจพบบนผิวหนังที่มีผื่นแดงนำมาก่อน ลักษณะตุ่มน้ำจะเป็นตุ่มน้ำที่แตกออกได้ง่าย กลายเป็นรอยถลอก ร่วมกับสะเก็ดน้ำเหลือง แผลถลอกมักจะขยายออกไปจนกลายเป็นแผ่น ทำให้เกิดอาการปวดแสบมาก เมื่อแผลหายจะทิ้งรอยดำโดยไม่เป็นแผลเป็น
       
เพิ่มคำอธิบายภาพ

     
       โรคเพมฟิกัสแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
                 1.โรคเพมฟิกัสที่มีการแยกตัวของผิวหนังในชั้นลึก (pemphigus vulgaris) ซึ่งพบบ่อยที่สุด
                 2.โรคเพมฟิกัสที่มีการแยกตัวของผิวหนังในชั้นตื้น (pemphigus foliaceus)



สาเหตุ
         เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งมีการสร้างภูมิต้านทานต่อเซลล์ผิวหนังและเยื่อบุของตนเอง ร่วมกับปัจจัยทางพันธุกรรมและ
 ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม การได้รับยาที่มีผลต่อภูมิคุ้มกันร่างกาย มีบทบาทร่วมกันในการก่อโรค 







อาการและอาการแสดง
                  อาการหลักที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์คือ ตุ่มน้ำพองหรือแผลถลอกเรื้อรังที่บริเวณร่างกายหรือเยื่อบุ โดยที่ 50-70% มีอาการแผลในปากเรื้อรังเป็นอาการแรก
ซึ่งอาจนำมาก่อนอาการทางผิวหนังเฉลี่ยประมาณ 5 เดือน โดยทั่วไปจะตรวจไม่พบตุ่มน้ำในช่องปาก มักพบเป็นแผลถลอกที่บริเวณเหงือก กระพุ้งแก้ม หรือเพดานปาก รอยถลอกอาจพบเป็นบางบริเวณหรือกระจายทั่วทั้งปาก ทำให้มีอาการเจ็บปวดมาก และอาจเกิดรอยโรคที่บริเวณกล่องเสียง ทำให้มีอาการเสียงแหบได้ นอกจากนี้อาจพบรอยโรคที่บริเวณเยื่อบุอื่น ๆ เช่น หลอดอาหาร ทำให้กลืนเจ็บ เยื่อบุตา เยื่อบุทางเดินหายใจ เยื่อบุช่องคลอด อวัยวะเพศ ทางเดินปัสสาวะ และทางเดินอุจจาระได้ด้วย


อาการทางผิวหนังจะพบตุ่มน้ำพองเกิดขึ้นเองบนผิวหนังปกติ หรืออาจพบบนผิวหนังที่มีผื่นแดงนำมาก่อน ลักษณะตุ่มน้ำจะเป็นตุ่มน้ำที่แตกออกได้ง่าย (flaccid bullae) กลายเป็นรอยถลอก ร่วมกับสะเก็ดน้ำเหลือง แผลถลอกมักจะขยายออกไปจนกลายเป็นแผ่นใหญ่ (รูปที่ 2, 3) ทำให้เกิดอาการปวดแสบมาก เมื่อแผลหายจะทิ้งรอยดำโดยไม่เป็นแผลเป็น
การวินิจฉัยแยกโรค
ต้องวินิจฉัยแยกโรคในกลุ่มตุ่มน้ำพองที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ โดยเฉพาะโรคเพมพิกอยด์ (bullous pemphigoid) เนื่องจากเป็นอีกโรคที่พบบ่อย สามารถแยกจากกันได้จากลักษณะตุ่มน้ำในโรคเพมพิกอยด์จะเป็นตุ่มน้ำเต่งแตกยาก (tense bullae) และพบแผลในเยื่อบุเพียง 20-30% ลักษณะทางชิ้นเนื้อในโรคเพมพิกอยด์จะพบการแยกชั้นผิวหนังบริเวณรอยต่อของหนังแท้และหนังกำพร้า (subepidermal separation) และการตรวจพิเศษทางอิมมูนจะพบการเรืองแสงเป็นเส้นที่บริเวณรอยต่อของหนังกำพร้าและหนังแท้ต่อ IgG และ C(IgG and C3 deposit in basement membrane zone)

การรักษา
                   ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีความรุนแรงของโรคแตกต่างกัน ในช่วงที่โรคกำเริบ การรักษามีจุดประสงค์ในการลดการเกิดตุ่มน้ำใหม่และเร่งการสมานแผลให้เร็วที่สุด ยาที่ใช้รักษาหลักคือยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานโดยใช้ในขนาดสูง 0.5-1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคมากหรือมีผื่นในบริเวณกว้าง จำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันชนิดอื่นๆ เช่นยา cyclophosphamide หรือยา azathioprine ร่วมด้วย แล้วค่อย ๆ ปรับลดยาลงช้า ๆ โดยใช้ยาที่น้อยที่สุดที่จะควบคุมโรคได้ ยาอื่น ๆ ที่อาจเป็นทางเลือกในการรักษาร่วมกับยาสเตียรอยด์ ได้แก่ยา dapsone หรือยา mycophenolic acid

การพยากรณ์โรค
          โรคกลุ่มนี้เป็นโรคเรื้อรัง อาจมีอาการโรคกำเริบและสงบสลับกันไป ผู้ป่วยบางรายอาจเข้าสู่ระยะโรคสงบหลังรักษา 3-5 ปี แต่มีผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานานและอาจเสียชีวิตจากความรุนแรงของโรคหรือภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา ผู้ป่วยที่มีอายุมาก เป็นรุนแรง มีผื่นในบริเวณกว้าง จะมีพยากรณ์โรคไม่ดี ผู้ป่วยเพมฟิกัสชนิดตื้น มักมีความรุนแรงน้อยกว่าและตอบสนองต่อการรักษาดีกว่า

คำแนะนำสำหรับการดูแลตนเองเบื้องต้น
1. ควรมาพบแพทย์สม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดยาหรือปรับลดยาเอง
2. ควรทำความสะอาดร่างกายอย่างสม่ำเสมอ บริเวณที่เป็นแผลให้ใช้น้ำเกลือทำความสะอาด ใช้แปรงขนอ่อนทำความสะอาดลิ้นและฟัน ไม่แกะเกาผื่น
3. ผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานต่ำจากยาที่ใช้รักษา จึงควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อ
4. ไม่มีข้อห้ามในการรับประทานอาหาร ในผู้ป่วยที่มีแผลในปาก ควรงดอาหารรสจัด งดรับประทานอาหารแข็ง เช่น ถั่ว ของขบเคี้ยว เนื่องจากอาจกระตุ้นการหลุดลอกของเยื่อบุในช่องปาก
5. ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดคับ เพื่อลดการถลอกที่ผิวหนัง




ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอาจพบได้หลักการดูแล
1.ส่งไปพบแพทย์เพื่ออวินิจฉัยและรับยา
2.ปรับความคิดว่าไม่ได้เป็นโรคที่น่ารังเกียจแต่ควรดูแลและใส่ใจเป็นพิเศษ
3.ดูแลความสะอาดแผลป้องกันการติดเชื้อ
4.ดูแลให้ได้รับยาตามแพทย์
โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์
www.nursingthailand.org

5/24/2560

 



ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุ



 มิใช่ปัญหาที่พบเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่อยู่ในระดับกว้าง พบได้ในคนทุกเพศ ทุกวัย ส่วนใหญ่มักมีอาการที่ไม่รุนแรง ผู้ที่มีปัญหาท้องผูกมักจะดำเนินวิธีการแก้ไขในรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น การหาอาหารหรือผลไม้บางชนิดมารับประทาน แล้วทำให้มีการถ่ายอุจจาระออกมา 
ใช้ยาหรือน้ำสบู่สวนทวาร ทำให้อุจจาระนิ่มหรืออ่อนตัวลง แล้วทำให้ขับถ่ายออกมาโดยง่าย
 บางท่านนิยมซื้อยาระบายมารับประทาน
 ซึ่งยาพวกนี้จะทำให้ลำไส้ขับถ่ายอุจจาระออกมาด้วยกลไกต่าง ๆ กัน 

           อาการท้องผูก หมายถึง อาการที่มีความยากลำบากในการถ่ายอุจจาระ ต้องใช้เวลาในการถ่ายมาก มีการเบ่งถ่ายอุจจาระ ลักษณะอุจจาระแข็งมาก ถ่ายแล้วแต่ยังมีความรู้สึกว่าถ่ายยังไม่หมด หรือถ่ายยังไม่สุด หรือยังปวดท้องอยากถ่าย หรือเบ่งอยู่ตลอดเวลา ถ้าพิจารณาจากความถี่ของการถ่ายอุจจาระจะถือว่า ถ้าถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เรียกว่า มีอาการท้องผูก

           การทำงานของทางเดินอาหาร เริ่มตั้งแต่อาหารถูกรับประทานเข้าไปทางปาก มีการบดเคี้ยวด้วยฟันจนเป็นชิ้นเล็ก ๆ และลงไปคลุกเคล้ากับน้ำย่อย ในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก อาหารจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ และจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตต่อไป อาหารบางส่วนที่ร่างกายไม่สามารถจะดูดซึมไปใช้ได้ เรียกว่า กากอาหาร จะค่อย ๆ เคลื่อนตัวลงมาตามลำไส้เล็กเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ตอนต้น ในขณะนั้นกากอาหารส่วนใหญ ่จะอยู่ในสภาพค่อนข้างเหลว เพราะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยมากพอควร ขณะที่กากอาหารส่วนนี้ผ่านจากลำไส้ใหญ่ส่วนต้น สู่ส่วนสุดท้ายก่อนจะถึงทวาร ลำไส้ก็จะดูดน้ำออกจากกากอาหารไปเรื่อย ๆ จนทำให้กากอาหารข้นเข้าทุกที จนจับกันเป็นก้อน เมื่อกากอาหารมารวมกันมากขึ้น จะทำให้ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายมีแรงบีบตัว ทำให้เรารู้สึกปวดอยากจะถ่าย และเกิดการขับถ่ายอุจจาระออกมานั่นเอง

          ขบวนการย่อยอาหารจากต้นจนจบถึงขั้นสุดท้าย คือการถ่ายอุจจาระ จะกินเวลาประมาณ 1–3 วัน ซึ่งอัตราความเร็วนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารของแต่ละคน ชนิดของอาหาร และปริมาณของกากอาหารที่เหลือค้างในลำไส้ คนส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 1 วัน อุจจาระจะมาถึงลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง แต่ถ้าไม่มีการขับถ่ายออกมาตามเวลาปกติ อุจจาระที่ถูกเก็บในลำไส้ใหญ่ จะถูกดูดน้ำออกไปเรื่อย ๆ จนแห้งและแข็งมากขึ้นทุกที ทำให้อุจจาระออกด้วยความลำบาก นั่นคือเกิดอาการท้องผูก

สาเหตุ

อาการท้องผูก มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่
  1. รับประทานอาหารที่มีกากน้อย หรือมีเส้นใยน้อยมาก
    เส้นใย คือ ส่วนประกอบของพืชผักต่าง ๆ ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยสลายให้เล็กลง และดูดซึมเอาไปใช้ในร่างกายได้ หลังจากกระบวนการย่อยอาหารเสร็จสิ้นแล้ว เส้นใยก็ยังคงค้างอยู่ในลำไส้ และเคลื่อนลงมาสู่ลำไส้ใหญ่ กลายเป็นอุจจาระต่อไป ถ้าคนรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมาก อุจจาระก็จะมีปริมาณมากด้วย และทำให้เกิดความรู้สึกอยากถ่าย เมื่อกากอาหารและเส้นใยมาถึงลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนคนที่ไม่ค่อยรับประทานผักหรือผลไม้ รับประทานแต่ข้าว ขนม หมูต้ม ไข่เจียว จะมีกากอาหารที่เป็นอุจจาระในปริมาณน้อย จึงยังไม่สามารถกระตุ้นลำไส้ใหญ่ส่วนปลายให้เกิดการขับถ่ายได้ อุจจาระส่วนนั้นก็จะค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ และถ้านานเข้า ก็จะแห้งและแข็งตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

  2. ดื่มน้ำในปริมาณน้อย
    น้ำดื่มถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ร่างกายของเราต้องใช้น้ำเพื่อเป็นส่วนประกอบของเลือด ของเซลล์ต่าง ๆ และทำให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้สูงอายุมักจะดื่มน้ำน้อย เนื่องจากศูนย์ที่กระตุ้นให้รู้สึกหิวน้ำทำงานไม่ค่อยดี ผู้สูงอายุจึงไม่ค่อยรู้สึกหิวน้ำ และในบางรายมีปัญหาเรื่องกลั้นปัสสาวะลำบากหรือกลั้นไม่อยู่ ผู้สูงอายุจะพยายามช่วยตัวเอง ด้วยการดื่มน้ำน้อยลง เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องปัสสาวะรด/ราด เมื่อร่างกายได้น้ำน้อย ไม่พอใช้ ก็จะพยายามดูดน้ำจากกากอาหารในลำไส้ออกมา ทำให้กากอาหารนั้นแข็งมากขึ้น ทำให้ถ่ายออกยาก เกิดอาการท้องผูกตามมา

  3. ไม่ได้ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา หรือกลั้นอุจจาระบ่อย ๆ ถ้าปวดเวลาไหนก็ไปถ่ายเวลานั้น บางครั้งเกิดปวดถ่าย แต่ไม่สามารถจะไปถ่ายได้ เช่น กำลังอยู่ในงานเลี้ยง หรืออยู่ในที่ที่ไม่มีห้องน้ำที่สะอาดพอ ทำให้ต้องกลั้นเอาไว้ บางท่านกำลังทำงานอดิเรกอยู่เพลิน ๆ ดูทีวีเพลิน ๆ ก็ไม่อยากลุกไปถ่าย ทำให้ท้องผูกได้

  4. การรับประทานยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ถ้าหากท่านได้ยาชนิดใหม่มาจากแพทย์แล้วพบว่า ลำไส้ทำงานไม่เหมือนเดิม คงจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเปลี่ยนยาเป็นกลุ่มอื่น ๆ อย่าพยายามแก้ปัญหาด้วยการไปซื้อยาระบายมารับประทาน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด

    ยาที่พบว่าทำให้เกิดอาการท้องผูกได้บ่อย เช่น ยาแก้ไอและยาแก้ปวด ที่มีส่วนประกอบของอนุพันธ์จากฝิ่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอลูมิเนียม และแคลเซียม ยาบำรุงเลือดที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก ยาต้านความเศร้า เป็นต้น

  5. โรคทางกายบางโรคอาจมีผลทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ เช่น คนไข้เบาหวานที่เป็นมานาน จนเกิดอาการแทรกซ้อน โดยระบบประสาทอัตโนมัติที่จะช่วยเรื่องการบีบตัวของลำไส้ทำงานไม่ค่อยดี ทำให้ประสิทธิภาพของลำไส้ ที่จะบีบตัวไล่กากอาหารลงมาที่ทวารหนักลดลง กากอาหารค้างอยู่ในลำไส้นานขึ้น ทำให้แห้งและแข็งตัวขึ้น โรคธัยรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ และภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ก็จะทำให้ท้องผูกได้เช่นกัน ในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบประสาท  อัมพฤก อัมพาต ทำให้ไม่สามารถจะเดินได้อย่างปกติ หรือผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ได้แต่นั่ง ๆ นอน ๆ ตลอดเวลา จะทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง และทำให้เกิดภาวะท้องผูกได้
ภาวะแทรกซ้อน

1.ท้องผูกอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่สุขสบายในกระเพาะอาหาร ทวารหนัก
2.อาจทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน เกิดโรคริดสีดวงทวารได้
3.มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
4.ทานอาหารได้น้อย
5.อาหารไม่ย่อยเกิน  มีอาเจียนในผู้สูงอายุที่ให้อาหารทางสายยาง

การดูแลรักษา

การรับประทานยาระบาย หรือการสวนทวารด้วยน้ำหรือน้ำยาเป็นประจำนั้น ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม แต่เราควรจะพยายามมองลักษณะการดำเนินชีวิตของเรา ว่ามีอะไรที่ควรจะแก้ไข ทำให้อาการท้องผูกดีขึ้นโดยไม่ต้องใช้ยา ดังนี้
  1. ปรับเปลี่ยนลักษณะการรับประทานอาหาร ควรมีการปรับแต่งอาหารของผู้สูงอายุให้ประกอบด้วยผัก และผลไม้มากขึ้น ถ้าผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องฟัน ควรเลือกผักที่นิ่ม เช่น ตำลึง ถั่วงอก ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว และปรุงให้นิ่ม ผักที่เป็นหัวหรือเป็นผล เช่น ไชเท้า ฟักเขียว น้ำเต้า ก็สามารถนำมาปรุงอาหารให้นิ่มได้โดยง่าย
  2. ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ประมาณ 6 - 8 แก้วต่อวัน
  3. ฝึกการขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา และอย่ากลั้นอุจจาระ
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน
สรุป - อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตอยู่ การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ ได้
  • ประมาณครึ่งหนึ่งของพลังงานทั้งหมดควรมาจากคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
  • เข้าใจเรื่องกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว และเลือกให้ถูกต้อง
  • เพิ่มเส้นใยอาหาร จะช่วยสานเส้นใยชีวิต

5/15/2560

 




ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุ



 มิใช่ปัญหาที่พบเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่อยู่ในระดับกว้าง พบได้ในคนทุกเพศ ทุกวัย ส่วนใหญ่มักมีอาการที่ไม่รุนแรง ผู้ที่มีปัญหาท้องผูกมักจะดำเนินวิธีการแก้ไขในรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น การหาอาหารหรือผลไม้บางชนิดมารับประทาน แล้วทำให้มีการถ่ายอุจจาระออกมา 
ใช้ยาหรือน้ำสบู่สวนทวาร ทำให้อุจจาระนิ่มหรืออ่อนตัวลง แล้วทำให้ขับถ่ายออกมาโดยง่าย
 บางท่านนิยมซื้อยาระบายมารับประทาน
 ซึ่งยาพวกนี้จะทำให้ลำไส้ขับถ่ายอุจจาระออกมาด้วยกลไกต่าง ๆ กัน 

           อาการท้องผูก หมายถึง อาการที่มีความยากลำบากในการถ่ายอุจจาระ ต้องใช้เวลาในการถ่ายมาก มีการเบ่งถ่ายอุจจาระ ลักษณะอุจจาระแข็งมาก ถ่ายแล้วแต่ยังมีความรู้สึกว่าถ่ายยังไม่หมด หรือถ่ายยังไม่สุด หรือยังปวดท้องอยากถ่าย หรือเบ่งอยู่ตลอดเวลา ถ้าพิจารณาจากความถี่ของการถ่ายอุจจาระจะถือว่า ถ้าถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เรียกว่า มีอาการท้องผูก

           การทำงานของทางเดินอาหาร เริ่มตั้งแต่อาหารถูกรับประทานเข้าไปทางปาก มีการบดเคี้ยวด้วยฟันจนเป็นชิ้นเล็ก ๆ และลงไปคลุกเคล้ากับน้ำย่อย ในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก อาหารจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ และจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตต่อไป อาหารบางส่วนที่ร่างกายไม่สามารถจะดูดซึมไปใช้ได้ เรียกว่า กากอาหาร จะค่อย ๆ เคลื่อนตัวลงมาตามลำไส้เล็กเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ตอนต้น ในขณะนั้นกากอาหารส่วนใหญ ่จะอยู่ในสภาพค่อนข้างเหลว เพราะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยมากพอควร ขณะที่กากอาหารส่วนนี้ผ่านจากลำไส้ใหญ่ส่วนต้น สู่ส่วนสุดท้ายก่อนจะถึงทวาร ลำไส้ก็จะดูดน้ำออกจากกากอาหารไปเรื่อย ๆ จนทำให้กากอาหารข้นเข้าทุกที จนจับกันเป็นก้อน เมื่อกากอาหารมารวมกันมากขึ้น จะทำให้ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายมีแรงบีบตัว ทำให้เรารู้สึกปวดอยากจะถ่าย และเกิดการขับถ่ายอุจจาระออกมานั่นเอง

          ขบวนการย่อยอาหารจากต้นจนจบถึงขั้นสุดท้าย คือการถ่ายอุจจาระ จะกินเวลาประมาณ 1–3 วัน ซึ่งอัตราความเร็วนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารของแต่ละคน ชนิดของอาหาร และปริมาณของกากอาหารที่เหลือค้างในลำไส้ คนส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 1 วัน อุจจาระจะมาถึงลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง แต่ถ้าไม่มีการขับถ่ายออกมาตามเวลาปกติ อุจจาระที่ถูกเก็บในลำไส้ใหญ่ จะถูกดูดน้ำออกไปเรื่อย ๆ จนแห้งและแข็งมากขึ้นทุกที ทำให้อุจจาระออกด้วยความลำบาก นั่นคือเกิดอาการท้องผูก

สาเหตุ

อาการท้องผูก มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่
  1. รับประทานอาหารที่มีกากน้อย หรือมีเส้นใยน้อยมาก
    เส้นใย คือ ส่วนประกอบของพืชผักต่าง ๆ ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยสลายให้เล็กลง และดูดซึมเอาไปใช้ในร่างกายได้ หลังจากกระบวนการย่อยอาหารเสร็จสิ้นแล้ว เส้นใยก็ยังคงค้างอยู่ในลำไส้ และเคลื่อนลงมาสู่ลำไส้ใหญ่ กลายเป็นอุจจาระต่อไป ถ้าคนรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมาก อุจจาระก็จะมีปริมาณมากด้วย และทำให้เกิดความรู้สึกอยากถ่าย เมื่อกากอาหารและเส้นใยมาถึงลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนคนที่ไม่ค่อยรับประทานผักหรือผลไม้ รับประทานแต่ข้าว ขนม หมูต้ม ไข่เจียว จะมีกากอาหารที่เป็นอุจจาระในปริมาณน้อย จึงยังไม่สามารถกระตุ้นลำไส้ใหญ่ส่วนปลายให้เกิดการขับถ่ายได้ อุจจาระส่วนนั้นก็จะค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ และถ้านานเข้า ก็จะแห้งและแข็งตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

  2. ดื่มน้ำในปริมาณน้อย
    น้ำดื่มถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ร่างกายของเราต้องใช้น้ำเพื่อเป็นส่วนประกอบของเลือด ของเซลล์ต่าง ๆ และทำให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้สูงอายุมักจะดื่มน้ำน้อย เนื่องจากศูนย์ที่กระตุ้นให้รู้สึกหิวน้ำทำงานไม่ค่อยดี ผู้สูงอายุจึงไม่ค่อยรู้สึกหิวน้ำ และในบางรายมีปัญหาเรื่องกลั้นปัสสาวะลำบากหรือกลั้นไม่อยู่ ผู้สูงอายุจะพยายามช่วยตัวเอง ด้วยการดื่มน้ำน้อยลง เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องปัสสาวะรด/ราด เมื่อร่างกายได้น้ำน้อย ไม่พอใช้ ก็จะพยายามดูดน้ำจากกากอาหารในลำไส้ออกมา ทำให้กากอาหารนั้นแข็งมากขึ้น ทำให้ถ่ายออกยาก เกิดอาการท้องผูกตามมา

  3. ไม่ได้ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา หรือกลั้นอุจจาระบ่อย ๆ ถ้าปวดเวลาไหนก็ไปถ่ายเวลานั้น บางครั้งเกิดปวดถ่าย แต่ไม่สามารถจะไปถ่ายได้ เช่น กำลังอยู่ในงานเลี้ยง หรืออยู่ในที่ที่ไม่มีห้องน้ำที่สะอาดพอ ทำให้ต้องกลั้นเอาไว้ บางท่านกำลังทำงานอดิเรกอยู่เพลิน ๆ ดูทีวีเพลิน ๆ ก็ไม่อยากลุกไปถ่าย ทำให้ท้องผูกได้

  4. การรับประทานยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ถ้าหากท่านได้ยาชนิดใหม่มาจากแพทย์แล้วพบว่า ลำไส้ทำงานไม่เหมือนเดิม คงจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเปลี่ยนยาเป็นกลุ่มอื่น ๆ อย่าพยายามแก้ปัญหาด้วยการไปซื้อยาระบายมารับประทาน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด

    ยาที่พบว่าทำให้เกิดอาการท้องผูกได้บ่อย เช่น ยาแก้ไอและยาแก้ปวด ที่มีส่วนประกอบของอนุพันธ์จากฝิ่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอลูมิเนียม และแคลเซียม ยาบำรุงเลือดที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก ยาต้านความเศร้า เป็นต้น

  5. โรคทางกายบางโรคอาจมีผลทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ เช่น คนไข้เบาหวานที่เป็นมานาน จนเกิดอาการแทรกซ้อน โดยระบบประสาทอัตโนมัติที่จะช่วยเรื่องการบีบตัวของลำไส้ทำงานไม่ค่อยดี ทำให้ประสิทธิภาพของลำไส้ ที่จะบีบตัวไล่กากอาหารลงมาที่ทวารหนักลดลง กากอาหารค้างอยู่ในลำไส้นานขึ้น ทำให้แห้งและแข็งตัวขึ้น โรคธัยรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ และภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ก็จะทำให้ท้องผูกได้เช่นกัน ในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบประสาท  อัมพฤก อัมพาต ทำให้ไม่สามารถจะเดินได้อย่างปกติ หรือผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ได้แต่นั่ง ๆ นอน ๆ ตลอดเวลา จะทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง และทำให้เกิดภาวะท้องผูกได้
ภาวะแทรกซ้อน

1.ท้องผูกอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่สุขสบายในกระเพาะอาหาร ทวารหนัก
2.อาจทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน เกิดโรคริดสีดวงทวารได้
3.มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
4.ทานอาหารได้น้อย
5.อาหารไม่ย่อยเกิน  มีอาเจียนในผู้สูงอายุที่ให้อาหารทางสายยาง

การดูแลรักษา

การรับประทานยาระบาย หรือการสวนทวารด้วยน้ำหรือน้ำยาเป็นประจำนั้น ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม แต่เราควรจะพยายามมองลักษณะการดำเนินชีวิตของเรา ว่ามีอะไรที่ควรจะแก้ไข ทำให้อาการท้องผูกดีขึ้นโดยไม่ต้องใช้ยา ดังนี้
  1. ปรับเปลี่ยนลักษณะการรับประทานอาหาร ควรมีการปรับแต่งอาหารของผู้สูงอายุให้ประกอบด้วยผัก และผลไม้มากขึ้น ถ้าผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องฟัน ควรเลือกผักที่นิ่ม เช่น ตำลึง ถั่วงอก ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว และปรุงให้นิ่ม ผักที่เป็นหัวหรือเป็นผล เช่น ไชเท้า ฟักเขียว น้ำเต้า ก็สามารถนำมาปรุงอาหารให้นิ่มได้โดยง่าย
  2. ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ประมาณ 6 - 8 แก้วต่อวัน
  3. ฝึกการขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา และอย่ากลั้นอุจจาระ
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน
สรุป - อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตอยู่ การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ ได้
  • ประมาณครึ่งหนึ่งของพลังงานทั้งหมดควรมาจากคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
  • เข้าใจเรื่องกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว และเลือกให้ถูกต้อง
  • เพิ่มเส้นใยอาหาร จะช่วยสานเส้นใยชีวิต

4/13/2560

สุขสันต์วันสงกรานต์ 2560



ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์


ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์สาขาแบริ่ง 17/5

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์
กิจกรรม

www.sansirihomecare.com

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม2

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม2


ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม2

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม2

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม2
02-050-1900
















ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม2

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม2







ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม2


ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม2
www.sansirihomecare.com

พระพุทธคุณ